X

ปัจจุบัน ‘นิภาพร นงนุช’ สวยไม่สร่าง เป็นเศรษฐินี 100 ล้าน

เก็บตัวเงียบ เป็นเศรษฐินี 100 ล้าน!
ปัจจุบัน ‘นิภาพร นงนุช’ อดีตคู่ขวัญ ‘สรพงศ์’ ผ่านมา 40 ปียังสวยไม่สร่าง

เรียกว่าเป็นนางเอกในตำนานที่หลายคนยังนึกถึง สำหรับ ‘นิภาพร นงนุช’ นางเอกเจ้าของฉายา ‘โอลิเวัย ฮัสซี่ย์’ ของเมืองไทย

ผู้โด่งดังจากภาพยนตร์ “15 หยก ๆ 16 ไม่หย่อน” เมื่อเกือบ 40 ปีที่แล้ว

( ‘โอลิเวีย ฮัสซี่ย์’ เป็นนางเอกดังฮอลลีวู้ดผู้รับบท ‘จูเลียต’ ในหนัง ‘โรมิโอและจูเลียต’ ปี 2511 )

ที่ปัจจุบันได้ห่างหายจากวงการบันเทิงไปนานกว่า 30 ปี เพื่อไปเริ่มต้นชีวิตใหม่จนประสบความสำเร็จ กลายเป็นเศรษฐินีระดับร้อยล้าน

โดย ‘บริษัท นงนุช อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด’ ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2530 ทั้งนี้ ‘นิภาพร นงนุช’ ยังมีลูกค้าสำคัญ ได้แก่ “ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง”,

“โอสถสภา จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน” , “ไลอ้อน”, “คาโอ”, “เอสแอนด์พี” และ “ธนาคารไทยพานิชย์”

ในปัจจุบัน ‘นิภาพร นงนุช’ เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ของ “วอลท์ ดิสนีย์” อีกด้วย เพื่อใช้ในงานด้านการส่งเสริมการขายของลูกค้าในประเทศ ไทยและประเทศใกล้เคียง

สำหรับ ‘นิภาพร นงนุช’ เกิดวันที่ 19 ก.ค.2504 ที่กรุงเทพฯ ชื่อเล่น ‘โป้ย’ เป็นบุตรคนที่ 2 ของ ‘นายสุด-นางอรุณี นงนุช’ มีพี่น้อง 3 คน

เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนบูรณวิทย์ มาเรียนต่อที่โรงเรียนสุวรรณินวิทยา จนจบม.ศ.3 ในปี 2520 มีหนังฝรั่งเรื่อง ‘คิงคอง 77’

เข้าฉายในบ้านเราในเครือ ‘พีรามิด’ จึงได้จัดให้มีการประกวด ‘มิสคิงคอง’ ‘นิภาพร’ เข้าประกวดด้วยและได้รอง น้องชายของผู้กำกับ ‘ชนะ คราประยูร’

เป็นเพื่อนนักเรียนของ ‘นิภาพร’ ชนะจึงให้น้องชายมาทาบทาม ‘นิภาพร’ ไปแสดงหนัง แต่ตอนนั้น ‘นิภาพร’ ปฏิเสธไป ด้วยความไม่มั่นใจในวงการบันเทิง

ภายหลัง ‘นิภาพร’ ได้ไปปรากฏตัวในงานต้อนรับทีมงานต่างชาติของหนัง ‘แอร์พอร์ต 77’ โดยเธอไปกับทีมงาน ‘พีรามิด’ (ผู้จัดประกวดมิสคิงคอง)

ในงานนั้นเองที่เธอได้พบตัวจริงของ ‘ชนะ คราประยูร’ จึงกล่อมเธออีกครั้งจนเธอใจอ่อนยอมมาแสดงหนังในที่สุด

เริ่มเรื่องแรกด้วย “15 หยกๆ” ของ ‘ชนะ คราประยูร’ ในปี 2521 นิภาพรเป็นดาราที่ได้รับความนิยมมาก มีผลงานแสดงหลายเรื่อง

เช่น ‘วันเพ็ญ’ (2521-เป็นนางเอกคู่สมบัติ), ‘เหนือกว่ารัก’ (2521), ‘โก๋บ้านนอกกี๋บางกอก’ (2521), ‘แตกหนุ่มแตกสาว’ (2521),

‘จ๊ะเอ๋เบบี้’ (2521), ‘ตลกร้องไห้’ (2522-เป็นนางเอกคู่ ‘ล้อต๊อก’) ‘วัยสวิง’ (2523), ‘แม้เลือกเกิดได้’ (2525) ฯลฯ